ทิศทางการเติบโตของธุรกิจโรงกลึงขึ้นอยู่กับการขับเคลื่อนของภาคการลงทุนและเศรษฐกิจภายใน ประเทศเป็นสำคัญ เนื่องจากโรงกลึงนับเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมต้นน้ำ ที่สนับสนุนการผลิตนอกเหนือจาก อุตสาหกรรมหล่อโลหะ อุตสาหกรรมขึ้นรูปโลหะ อุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนทางกลและทางไฟฟ้า เป็นต้น
ที่เป็นส่วนสำคัญในการประกอบกิจการโรงกลึง เกือบทุกประเภท
ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หรือแม้แต่ภาค บริการต่างๆ และยังเชื่อมโยงกับสาขาการผลิตอื่นอีกมากมายผ่านอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล เนื่องจากสินค้าที่ผลิต ได้จากเครื่องจักรกลมักเป็นส่วนประกอบหรือเครื่องมืออุปกรณ์ที่นำ ไปใช้ในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปในอุตสาหกรรม กลางและปลายน้ำ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมหลักของประเทศในกลุ่ม First S-Curve1 ที่ภาครัฐหวังที่จะยกระดับ เพื่อต่อยอดการเติบโตทั้ง 5 อุตสาหกรรม อันประกอบด้วย 1) ยานยนต์แห่งอนาคต 2) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 3) ท่องเที่ยวระดับคุณภาพ 4) เกษตรเชิงประสิทธิภาพและเทคโนโลยีชีวภาพ และ 5) อาหารแห่งอนาคต นอกจากนี้ เพื่อยกระดับให้เศรษฐกิจของประเทศไทยเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดและก้าวผงาดได้อีกครั้ง ภาครัฐยัง กำหนด New S-Curve อีก 5 อุตสาหกรรมซึ่งประกอบไปด้วย 1) หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 2) อุตสาหกรรม การขนส่งและการบิน 3) อุตสาหกรรมชีวภาพ พลังงาน และเคมีชีวภาพ 4) อุตสาหกรรมดิจิทัล 5) อุตสาหกรรม การแพทย์และสุขภาพ ทำ ให้อุตสาหกรรมการผลิตของไทยต่างต้องเร่งปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี เพื่อ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในยุคอนาคตข้างหน้า ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงกลึงจึงจะต้องเตรียมตัวรับมือ กับการปรับเปลี่ยนในภาคอุตสาหกรรมการผลิตขนานใหญ่ในอนาคต เพื่อร่วมเป็นกลไกสำ คัญในการขับเคลื่อน เศรษฐกิจไทยนับจากนี้ด้วย