เทศกาลสิ้นปี-วันปีใหม่ ของชาวญี่ปุ่น

%e0%b8%9b%e0%b8%b5%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b9%88

 

คืนก่อนวันปีใหม่ หรือวันสิ้นปี

ในช่วงข้ามปีในคืนที่ 31 ธันวาคม เรียกว่า “โอมิโซกะ” นี้ ชาวญี่ปุ่นจะนิยมทำความสะอาดบ้านครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อตอนรับสิ่งดีๆ ในปีที่กำลังจะมาถึง แต่ละบ้านจะจัดเตรียมอาหารอย่างอุดมสมบูรณ์เตรียมร่วมฉลองวันปีใหม่กับสมาชิกในครอบครัว และจะนิยมรับประทาน “โทชิโคชิโซบะ” เพื่อขอให้มีชีวิตที่ยืนยาว ตกเวลากลางคืนจะพร้อมใจกันฟังเสียงระฆังโจยะ โนะคาเนะ (Jyoyo no kane) จากวัดที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศซึ่งจะมีการถ่ายทอดทางสถานที่โทรทัศน์และวิทยุ พระจะผลัดกันตีระฆังในวัดให้ครบ 108 ครั้ง ถือเป็นการขับไล่กิเลสชั่วร้าย 108 อย่างที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ เพื่อจะได้ต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ซึ่งในวันนี้ชาวญี่ปุ่นนิยมเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อลบล้างสิ่งไม่ดีทั้งหลาย เช่น

การตีระฆังวันสิ้นปี (โจยาโนะ คาเนะ) : คืนก่อนวันขึ้นปีใหม่ ตามวัดทั้งประเทศญี่ปุ่นจะมีพิธีการตีระฆังเป็นจำนวน 108 ครั้ง เนื่องจากคำสั่งสอนในศาสนาพุทธนั้น มนุษย์มีบาป 108 ชนิด เชื่อว่าการตีระฆังจะช่วยล้างบาปได้ เมื่อสิ้นเสียงของระฆังครั้งสุดท้ายโลกจะเปลี่ยนใหม่ มนุษย์มีอิสระที่จะเริ่มปีใหม่ด้วยสภาพที่ใสสะอาด

การนวดแป้ง (โมจิซึคิ) :โมจิเป็นอาหารตามประเพณีวันปีใหม่ในอดีต จะมีการทำขนมนี้กันทุกบ้าน ปัจจุบันยังคงมีหลายครอบครัวที่ยังคงนิยมทำขนมชนิดนี้

ของขวัญสิ้นปี(เซอิโบ) : เป็นประเพณีการให้ของขวัญวันสิ้นปีเพื่อแสดงการขอบคุณแก่ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือ และให้การบริการ ยังมีช่วงเวลาที่ชาวญี่ปุ่นนิยมให้ของขวัญในช่วงเดือนกรกฎาคม เรียกว่า “โอจูเกง” (ของขวัญกลางปี)

วันปีใหม่

– แสงของดวงอาทิตย์ในวันปีใหม่ (อาซึฮิโนเด้)

– การไปวัดครั้งแรกของปี (ฮาซึโมเด้)

– อาหารวันขึ้นปีใหม่ (โอเซจิ เรียวหริ)

– เงินในรูปของขวัญ (โอโทชิดามะ)