Category Archives: เรื่องราวของอินเตอร์เน็ต

การปลูกฝังวัฒนธรรมให้เด็กญี่ปุ่นโดยจัดเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้ที่โรงเรียน

ในญี่ปุ่นมีวันสำคัญต่างๆที่เกี่ยวกับความเชื่อเพื่อการเจริญเติบโตที่แข็งแรงและขจัดสิ่งชั่วร้ายออกจากชีวิต เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นเทศกาลวันก่อนวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิหรือ Setsubun ซึ่งเป็นเทศกาลที่เกี่ยวกับการขว้างถั่วเพื่อไล่ปิศาจและสิ่งชั่วร้ายให้ออกจากชีวิต เดือนมีนาคมเป็นเทศกาลเด็กผู้หญิงซึ่งจัดวางบูชาตุ๊กตาและอธิษฐานขอให้ลูกสาวมีความสุข มีสุขภาพแข็งแรงและขจัดสิ่งชั่วร้ายออกจากชีวิต

cu12

ทุกช่วงก่อนวันสำคัญดังกล่าวข้างต้น โรงเรียนอนุบาลญี่ปุ่นซึ่งไม่มีการสอนการอ่านหรือเขียนหนังสือให้แก่เด็ก ใช้วันสำคัญเหล่านี้ทำกิจกรรมการเรียนรู้พร้อมปลูกฝังทางวัฒนธรรมประเพณีให้แก่เด็ก โดยให้เด็กใช้เวลาการประดิษฐ์สัญลักษณสำคัญที่เกี่ยวกับวันต่างๆ เช่น หากเป็นวันก่อนวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิก็มีการประดิษฐ์หน้ากากปิศาจและภาชนะใส่ถั่วสำหรับขว้างปิศาจ เทศกาลเด็กผู้หญิงก็ให้เด็กประดิษฐ์ตุ๊กตาเจ้าหญิงเจ้าชาย เทศกาลเด็กผู้ชายก็ให้เด็กประดิษฐ์ปลาคาร์ฟและหมวกซามูไร เทศกาลทานาบาตะก็ให้เด็กประดิษฐ์สิ่งประดับกิ่งไผ่ เป็นต้นโดยความยากง่ายขึ้นกับระดับชั้นเรียน นอกจากงานประดิษฐ์ดังกล่าวแล้วก็มีการจัดงานตามวาระสำคัญดังกล่าวซึ่งช่วยปลูกฝังประเพณีและวัฒนธรรมให้แก่เด็กๆ ทำให้เด็กรู้สึกสนุกและรอคอยวันสำคัญต่างๆอย่างใจจดใจจ่อ ทั้งนี้ในโรงเรียนประถมศึกษาก็มักจัดงานกิจกรรมพิเศษในโอกาสเทศกาลสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจัดเมนูอาหารที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญหรือการมีกิจกรรมพิเศษให้เด็กเข้าร่วม

เดินทางสะดวกสบายและปลอดภัยด้วยรถไฟชินคันเซ็น

13696340281369634070lรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูงของญี่ปุ่นได้ต้นแบบพัฒนามาจากรถไฟความเร็วสูง Siemens ของเยอรมนี ญี่ปุ่นมีความต้องการที่จะสร้างรางรถไฟที่รองรับรถไฟที่วิ่งด้วยความเร็วสูง จึงได้สร้างทางรถไฟมาเพื่อรถไฟความเร็วสูงอย่างจริงจังโดยเฉพาะ เป็นประเทศแรกในโลก เนื่องจากภูมิประเทศของญี่ปุ่นจะเต็มไปด้วยภูเขามากมาย เส้นทางรถไฟที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงมีความกว้างแบบแคบซึ่งทำให้ต้องวางเส้นทางรถไฟที่คดเคี้ยวและรถไฟไม่สามารถเร่งให้มีความเร็วสูงกว่านี้ได้ ต่อมาญี่ปุ่นมีความต้องการสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงมากกว่าความต้องการสร้างของประเทศที่มีระบบรางรถไฟความกว้างมาตรฐานอยู่แล้วและญี่ปุ่นนั้นก็มีศักยภาพในการปรับปรุงระบบรถไฟให้ทันสมัยมากกว่าอีก

ปัจจุบันชิงกันเซ็งสามารถให้บริการรับส่งผู้โดยสารวันละ 800,000 คนโดยมี 6 เส้นทางเชื่อมต่อเมืองใหญ่ๆจากเหนือไปจนจรดใต้ของประเทศ ความยาวเส้นทางประมาณ 2,500 กิโลเมตร จึงเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ในเครือข่ายขนส่งคมนาคมของญี่ปุ่น รถไฟชิงกันเซ็งรุ่นปัจจุบันทำความเร็วได้เฉลี่ย 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ชิงกันเซ็งสามารถวิ่งด้วยความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในรางปกตินั้นสามารถเร่งความเร็วได้ถึง 443 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ยิ่งกว่านั้นสามารถเร่งความเร็วได้ถึง 581 กิโลเมตรต่อชั่วโมงซึ่งเป็นความเร็วสถิติโลกเมื่อวิ่งด้วยรางรถไฟแม่เหล็กในปี 2546

คนญี่ปุ่นจึงแทบจะไม่ได้ใช้รถยนต์ส่วนตัวเลยทีเดียว เพราะรถไฟชินกันเซ็งได้ให้ความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก และมันก็ยังมีความเร็วมากกว่ารถยนต์อีกด้วย ดังนั้นรถไฟชินกันเซ็งก็จะวิ่งเร็วกว่ารถยนต์ 2-3 เท่า และมีความปลอดภัยมากว่าด้วย ทุกวันนี้ชิงกันเซ็งสามารถสร้างรายได้ให้กับบริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตกคิดเป็นร้อยละ 40 จากรายได้ที่มาจากการคมนาคมทั้งหมด อย่างไรก็ตามเส้นทางรถไฟนี้ก็ต้องแข่งขันกับสายการบินในประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะการเดินทางจากโตเกียวไปยังฟุกุโอะกะและจากโอซะกะไปยังฟุกุโอะกะ จึงมีผลทำให้บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันตกยอมปรับลดค่าโดยสารหลายครั้งในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เพื่อให้สามารถแข่งขันกับสายการบินได้ เช่น การเพิ่มจำนวนรถไฟขบวนสั้นหลายรอบมากขึ้น

ในยุคเอโดะฝังลึกลงไปในวัฒนธรรมญี่ปุ่นว่าจะทำสิ่งใดต้องให้ความสำคัญกับส่วนรวมมาก

2ประเทศญี่ปุ่นค่อนข้างต้องเจอภัยทางธรรมชาติค่อนข้างมาก ทั้งแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด พายุที่เข้ามาหลายลูก แล้วภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นแตละครั้งก็เกิดความเสียหายมากเกินกว่าที่ใครคนใดคนหนึ่งจะต้านทานไว้ได้  จำเป็นต้องอาศัยกำลังของหมู่คณะเข้ามาช่วยกัน เมื่อเกิดเรื่องราวก็ไม่ใช่ว่าจะอยู่แบบช่างมันฉันไม่แคร์แบบบ้านเราไม่ได้เพราะสภาพแวดล้อมที่บ้านเราถือว่าเอื้อเฟื้อที่สุด บางคนที่ไม่อยากจะยุ่งกับใครอยู่คนเดียวในท้องไร่ ท้องนา ป่าเขาก็อยู่ได้เพราะภัยธรรมชาติเราไม่หนักหนาสาหัสมาก แต่ที่ญี่ปุ่นอยู่คนเดียวไปไม่รอด จำเป็นต้องอยู่เป็นหมู่เป็นคณะ เกิดเรื่องเกิดปัญหาช่วยกันคนละไม้คนละมือถึงจะเอาตัวรอดได้

ก่อนเข้าสู่สมัยปฏิรูปเมจิก็ประมาณสมัยรัชกาลที่ 5 ของไทย ญี่ปุ่นปกครองอยู่ในสมัยเอโดะด้วยระบบโชกุน คือ ผู้บัญชาการทหาร จักรพรรดิอยู่ที่เมืองเกียวโต แต่อำนาจที่แท้จริงอยู่ที่โชกุนที่คามาคุระ แล้วต่อมาก็ย้ายมาที่เอโดะ คือ โตเกียวในปัจจุบัน วังจักรพรรดิที่โตเกียวปัจจุบัน พระราชวังอิมพีเรียลแต่ก่อน คือ ที่บัญชาการของโชกุนที่ปกครองประเทศ ฝีมือการปกครองของโชกุนก็ไม่ธรรมดา โดยใช้วิธีการแบ่งแยกและปกครอง  แบ่งประเทศออกเป็นเมืองต่างๆ ราวๆ สัก 200 กว่าเมือง แต่ละเมืองจะมีเจ้าเมืองปกครองอยู่ เรียกว่า ไดเมียวและทุกปีไดเมียวสลับปีเว้นปีต้องมาอยู่ที่เอโดะกับโชกุน

ถ้ามีเจ้าเมืองทั้งประเทศ 200 กว่าคน ปีนี้ก็มีเจ้าเมือง 100 กว่าคนมาอยู่ที่เอโดะกับโชกุน เมื่อถึงปีหน้าก็กลับไปบริหารบ้านเมืองของตัวเอง และไดเมียวที่เหลือก็สลับกันมา  ซึ่งผลคือไม่มีเจ้าเมืองไหนที่คิดก่อการกบฎได้  เพราะข้างท่านโชกุนมีเจ้าเมืองอีกกว่าครึ่งประเทศอยู่ ทหารของเอโดะก็แข็งแกร่ง และระดับเจ้าเมืองมาอยู่ที่โตเกียวคนเดียวไม่ได้ เสียศักดิ์ศรีต้องมีลูกน้อง บริวาร ซามูไร และคนรับใช้ตามมา บางเมืองบางครั้งมาเป็น 1,000 คน ต้องประกวดประชันไม่ให้น้อยหน้าเมืองไหน  ที่สำคัญต้องใช้เงินมากจึงไม่มีเจ้าเมืองไหนที่จะคิดก่อการปฏิวัติ

สมัยเอโดะจึงมีประชากรอยู่เกินกว่า 1 ล้านคน การค้าขายสะพัด เพราะโชกุนทำให้สังคมญี่ปุ่นแน่นิ่งกับที่ เพื่อป้องกันความผันผวน เมื่อใดมีการเปลี่ยนแปลง จะเกิดโอกาสที่ใจคนไม่นิ่ง และเกิดความไม่มั่นคงทางการเมือง  โชกุนมองสิ่งนี้ออก จึงจัดการสังคมญี่ปุ่นทุกระบบให้นิ่ง เช่น คนแต่ละคนจะมีสังกัด เกิดหมู่บ้านไหนต้องอยู่หมู่บ้านนั้น ห้ามย้ายหมู่บ้าน ถ้าคิดจะย้ายจังหวัดหรือหมู่บ้านก็ไม่ได้ เพราะเมื่อไปแล้วเขาไม่รับถือว่าที่เขาเต็มอยู่แล้ว ญี่ปุ่นเป็นเกาะพื้นที่น้อยคนเยอะ

ฉะนั้นถ้าถูกขับออกจากหมู่บ้านเมื่อไหร่จะไม่มีที่อยู่ทั้งประเทศกลายเป็นคนร่อนเร่พเนจรเพราะทุกคนต้องให้ความใส่ใจส่วนรวมมาก แม้แต่สังกัดวัดก็ต้องกำหนด เมื่อครอบครัวนี้มีคนตาย ต้องไปฝังศพวัดที่กำหนดได้เท่านั้น ห้ามย้ายวัด ฉะนั้นทุกคนจะถูกสั่งสอนว่าเมื่อทำอะไรอย่าให้เดือดร้อนคนอื่น เพราะเมื่อใดที่ต้องถูกขับไล่ออกแม้แต่คนในครอบครัวก็ไม่สามารถช่วยได้หรืออาจจะโดนไล่ทั้งครอบครัวก็มีขึ้นอยู่กับมติของหมู่บ้านซึ่งถูกปลูกฝังความคิดนี้มา 250 ปี ในยุคเอโดะฝังลึกลงไปในวัฒนธรรมญี่ปุ่นว่าจะทำสิ่งใดต้องให้ความสำคัญกับส่วนรวมมากและไม่ทำเกินหน้าเกินตาใครต้องอ่อนน้อม ฝึกมารยาทความเกรงใจผู้อื่น

ท่องเที่ยวรอบเมืองไอสุ เพื่อสัมผัสวัฒนธรรมซามูไรในญี่ปุ่น

เมืองไอสุ เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมซามูไร ไม่ว่าจะเป็นปราสาทหรือตัวเมืองที่ยังคงสัมผัสได้ถึงกลิ่นอายของยุคสมัยโบราณ นอกจากนี้ไอสุยังมีมนต์เสน่ห์ในเรื่องของออนเซ็นอีกด้วย สำหรับการเดินทางนั้นสามารถเดินทางได้โดยรถไฟ ซึ่งเป็นที่นิยมเป็นอย่างมากเพื่อเดินทางไปเยี่ยมชมสถานที่ต่างๆ หรือจะนั่งกินลมชมวิวเพื่อความเพลิดเพลินก็ได้ ซึ่งผู้เดินทางจะได้สัมผัสกับความคลาสสิคของตู้รถไฟ ไม่ว่าจะเป็นตู้รถไฟแบบนั่งพื้นกับโต๊ะความร้อนสไตล์ญี่ปุ่น ตู้รถไฟสไตล์โบราณและตู้รถไฟชมวิว ทั้งนี้จะมีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆประกอบด้วย 1.โตโนะเฮะทรึริ เป็นผาหินที่มีรูปร่างแปลกตา เกิดจากการยุบและสึกกร่อนของผาหินเข้ากับธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ทำให้เกิดเป็นทัศนียภาพที่สวยงาม ซึ่งสถานที่ท่องเที่ยวแห่งนี้สามารถเยี่ยมชมได้ทั้งตลอดปีและมีความสวยงามแตกต่างกันไปในแต่ละฤดู 2.ยูโนะกะมิออนเซ็นและย่านโออุจิจุคุ ซึ่งเป็นออนเซ็นที่ขึ้นชื่อเป็นอย่างมากเรื่องบ่อน้ำร้อน นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นเองมักเดินทางมาพักผ่อนโดยรถส่วนตัวและรถบัส หลังจากเมื่อยล้าจากการเดินทาง 3.อะชิโนะมะคิออนเซ็น ที่มีแหล่งบ่อน้ำร้อนที่มีชื่อเสียงและสามารถเห็นวิวของหุบเขาและธรรมชาติที่งดงามด้วย 4. เมืองไอซุวากามัทสึ ซึ่งมีสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มากมาย ที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมซามูไร และยังมีชื่อเสียงในเรื่องของออนเซ็นและที่สำคัญที่เป็นไฮไลท์ คือ ปราสาทสึรุงะ ในปัจจุบันปราสาทแห่งนี้มามีชื่อเสียงในหน้าประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นในสงครามไอซุ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโบชิน ช่วงปลายๆ การปกครองโดยระบอบโชกุนและตัวปราสาทต้องถูกทำลายลงอย่างราบคาบพร้อมกับตำนานที่ยังตราตรึงในจิตใจของชาวญี่ปุ่น นอกจากนี้ตัวปราสาทก็เป็นสวนสาธารณะที่สวยงามเพราะจะมีต้นซากุระจำนวนมากปลูกเอาไว้ ทำให้ในช่วงที่ดอกซากุระบานนั้นที่นี่นับว่าเป็นอีกสถานที่ที่มีความสวยงามเหมาะแก่การมาชมดอกซากุระเป็นอย่างมาก นอกจากนี้สถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆในเมือง Aizuwakamatsu ก็มีทั้ง Aizuwakamatsu City Hall ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบยุโรปในช่วงของการปฏิรูปเมจิที่เหมาะแก่การมาถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ซึ่งการเดินทางมายังเมืองไอซุวากามัทสึนั้นสามารถใช้บริการของรถไฟ JR จากเมืองใหญ่ๆ ได้เลย

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมแห่งชาติของญี่ปุ่นที่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

เมื่อพูดถึงพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆที่มีนักวิจัยจากหลายแห่งทั่วโลกเข้าเยี่ยมชมแล้วคงจะหนีไม่พ้นชื่อของพิพิธภัณฑ์ มิไรกัน ที่เมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น มิไรกัน ตั้งอยู่ในตำบลโอไดบะ (Odaiba) และเปิดให้เข้าชมเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 (ค.ศ.2001) จนกระทั่งถึงปัจจุบัน

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มี Dr. Mamoru Mohri เป็นผู้อำนวยการศูนย์ซึ่งเป็นอดีตนักบินอวกาศคนแรกของญี่ปุ่นที่เคยร่วมเดินทางไปกับกระสวยอวกาศขององค์การนาซา (NASA) นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แนวใหม่ที่มีการเชื่อมโยงระหว่างคนกับนวัตกรรมใหม่ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเนื่องจากประกอบด้วยนิทรรศการที่โชว์งานเกี่ยวกับทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่น่าดึงดูดมากกว่า 200 รายการ โดยโชว์ต่างๆถูกจัดออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ทั้งหมด 4 กลุ่มคือ
1.สิ่งแวดล้อมโลก (The Earth Environment and Frontiers)
2.นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ในอนาคต (Innovation and the Future)
3.เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสังคม (Information Science and Technology for Society)
4.วิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต (Life Sciences)

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีนักวิทยาศาสตร์และบุคคลสำคัญด้านอื่นๆของโลกมาเยี่ยมชมด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น Dr. Donald A. Thomas จากองค์การ NASA, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ การศึกษาและการกีฬา จากประเทศโครเอเชีย (Croatia) เป็นต้น ส่วนค่าใช้จ่ายในการเยี่ยมชมนั้นจัดว่าราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้เข้าไปชมโดยผู้ใหญ่เสียค่าเข้าประมาณ 150 บาท (500 เยน) เด็กที่อายุตั้งแต่ 18 ปีลงมาเสียค่าเข้าประมาณ 62 บาท (300 เยน) สำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 6 ขวบลงมาได้เข้าฟรี แต่ต้องในอัตตราส่วนเด็กสูงสุดเพียง 2 คน ต่อผู้ใหญ่หนึ่งคนเท่านั้น

ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีอาสาสมัครที่สามารถพูดได้ทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษมากกว่า 800 คนเข้ามาทำหน้าที่สำคัญต่างๆในตัวพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ความรู้และคำอธิบายต่างๆต่อผู้ที่มาเยี่ยมชม จำนวนผู้เข้าเยี่ยมชมเฉลี่ยอยู่ที่ปีละประมาณ 600,000 คนซึ่งจำนวนผู้เข้าชมมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากมีหลายสิ่งที่น่าดึงดูดนักท่องเที่ยวหรือแม้แต่ชาวญี่ปุ่นเองที่มีความสนใจทางวิทยาศาสตร์ให้เข้าไปชมภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้